เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 หน้าหลักเว็บไซต์
  กลับหน้าหลัก

อื่น ๆ

ประวัติความเป็นมาห้องสมุด วพบ. สงขลา

ประวัติห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

           ห้องสมุดเปิดบริการครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2509  ณ  อาคารเรียน ชั้น 2  ตึกอำนวยการเก่า ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2532  ได้ขยายพื้นที่
เพิ่มขึ้น ขนาด 2 ห้องเรียนภายในชั้นที่ 2 ของอาคารหลังเดิม เนื่องจากปัจจุบันอาคารหลังนี้ชำรุดมากห้องสมุดจึงได้ย้ายอีกครั้ง ในปี
พ.ศ. 2536 โดยมาอยู่ที่ชั้นล่างอาคารเรียน 3  (หอปาล์ม) มีพื้นที่ 288  ตารางเมตร สามารถจุผู้อ่านได้ 140 คน และต่อมา ใน ปี พ.ศ.2543 ห้องสมุดได้ย้ายอีกครั้งมาที่  ชั้นล่าง  ตึกอาคารใหม่ 6 ชั้น  มีพื้นที่ 576 ตารางเมตรสามารถจุผู้อ่านได้ 250 คน  ทางห้อง
สมุดได้จัดซื้อหนังสือด้วยเงินงบประมาณและเงินอุดหนุนปัจจุบันได้มีหนังสือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี 


  ปรัชญา  จัดระเบียบทรัพยากรห้องสมุดให้เป็นระบบและบริการอย่างรวดเร็ว         

 วัตถุประสงค์ของงานห้องสมุด     

1.  การจัดการดำเนินงานเกี่ยวกับงานเทคนิค          
          1.1 จัดซื้อ จัดหาตำรา เอกสาร และสิ่งพิมพ์รัฐบาลเข้าห้องสมุดเพื่อให้บริการแกคณะอาจารย์ นักศึกษา และบุคคลภายนอก
          1.2 จัดซื้อ จัดหาวารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเข้าห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอก
          1.3 เพื่อเก็บหนังสือตำรา เอกสาร และสิ่งพิมพ์รัฐบาลไว้เป็นหมวดหมู่ อย่างมีระบบ สะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า ได้อย่างรวดเร็ว
          1.4 การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดให้บริการ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

2. การดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริการ           
          2.1 เพื่อให้บริการยืม-คืนหนังสือ ตำรา เอกสารและสิ่งพิมพ์รัฐบาลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
          2.2 เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
          2.3 เพื่อให้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุด

3. ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหาร  
          3.1 เพื่อบริหารจัดการงานห้องสมุด ให้สอดคล้องกับนโยบายของวิทยาลัยฯ 
          3.2 ประสานงานกับหน่วยงานห้องสมุดอื่น ๆ ในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ      



 

   "ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  ULIBM  (Union  Library  Management)  เป็นระบบที่เกิด บูรณาการจากประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่าสิบปี   ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ งานห้องสมุดตลอดจนผู้พัฒนาได้ทำงานกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติขนาดใหญ่ระดับมหาวิทยาลัย  ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ  ไม่ว่าจะเป็นระบบ  INNOPAC,  VTLS,  HORIZON ฯลฯ อีกทั้ง ระบบสหบรรณานุกรม (Union Catalog)   ในประเทศไทยและญี่ปุ่น    ทำให้ผู้พัฒนานำความรู้  ความชำนาญและประสบการณ์มาพัฒนาระบบสำหรับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็ก  ให้ได้ มาตรฐานสากลในการจัดเก็บและการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ     เพื่อให้แหล่งสารสนเทศ หรือห้องสมุดมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ได้มาตรฐานใช้งาน    และสามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลกับระบบห้องสมุดอื่นได้ในอนาคต  ซึ่งผู้พัฒนาระบบได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่จะ เลือกใช้โปรแกรมสามารถไว้วางใจในการพัฒนาและดูและระบบต่อไปในอนาคต"

สมพงษ์ เจริญศิริ

    ลักษณะเด่นของโปรแกรม  

  • มีการอัพเกรดเสมอ เพราะผู้พัฒนาทำงานเกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยโดยตรง ทำให้เห็นแนวโน้มของการพัฒนาโปรแกรมในอนาคต และเทคโนโลยีใหม่ ๆ นำมาใช้กับห้องสมุด
  • ได้มาตรฐาน สามารถทำงานร่วมกับห้องสมุดมาตรฐานระดับสากล เพราะจัดเก็บฐานข้อมูลวัสดุสารสนเทศโดยใช้มาตรฐาน MARC สามารถโอนถ่ายข้อมูลกับระบบห้องสมุดมาตรฐานได้ทั่วประเทศและทั่วโลก
  • รับฟังความคิดเห็น หลายฟังก์ชันและโมดูล สร้างขึ้นมาจากความคิดเห็นและความต้องการของผู้ปฏิบัติงานจริง และยังรับฟังความต้องการ เพื่อปรับปรุงสิ่งใหม่ ๆ ที่ใช้ประโยชน์ได้จริงเสมอ
  • ฟรี นอกจากเป็นโปรแกรมฟรีแล้ว ยังสามารถทำงานโดยเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นของฟรี (ทั้ง OS และระบบฐานข้อมูล เป็นของฟรี ไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่ม)
  • ออนไลน์ เป็นโปรแกรมที่ทำงานแบบ Client-Server แบบ web-based ที่มีการรักษาความปลอดภัย

    โครงสร้าง  ของโปรแกรม   

  • ส่วนของโปรแกรม แบ่งออกเป็นส่วนหลัก ๆ 2 ส่วน คือ
    • เจ้าหน้าที่สูงสุด
    • บรรณารักษ์
    • ผู้เข้าใช้บริการทางหน้าเว็บไซต์

     โมดูลต่าง ๆ ของโปรแกรม

     โปรแกรม ULIBM มีโมดูลครบตามความต้องการและมาตรฐานของห้องสมุด ทำให้ใช้งานได้กับห้องสมุดได้ครบทุกด้าน สำหรับรายละเอียดของแต่ละโมดูลและความสามารถ เชิญดูรายละเอียดได้จากคู่มือการใช้ออนไลน์

 


   


ไปยังหัวข้อบทความ  

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2023.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. All Rights Reserved.